อัตราจังหวะเพลงไทย


องค์ประกอบของดนตรีไทย เรื่อง อัตราจังหวะเพลงไทย



จังหวะ

        คือ หน่วยที่ใช้วัดความสั้นยาวของเสียงดนตรีโดยการเคาะหรือนับ ทำให้ดนตรีเกิดการเคลื่อนไหว ในดนตรีไทย
มีจังหวะที่สำคัญ ดังนี้

    • จังหวะสามัญ 

คือ จังหวะที่เคาะประกอบบทเพลง ประกอบด้วยจังหวะตก-ยก การเคาะต้องเคาะให้พอดี
 ตรงกับจังหวะ ทุกเพลงมีการเคาะจังหวะสามัญเหมือนกันหมดต่างกันเพียงความช้า-เร็ว

    • จังหวะฉิ่ง 

ประกอบด้วยเสียงฉิ่ง-ฉับ อัตราของการตีฉิ่งจะแตกต่างกันตามอัตราจังหวะของเพลง
 เพลงไทยทั่วไปจะมีอัตราจังหวะ
  • ชั้นเดียว 
  • อัตรา 2 ชั้น
  • อัตรา 3 ชั้น
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

    •  จังหวะหน้าทับ 

หมายถึง จังหวะการตีของเครื่องดนตรีประเภทหนังชนิดต่าง ๆ เพื่อประกอบบทเพลง
 และต้องใช้ จังหวะหน้าทับให้เหมาะกับบทเพลง จังหวะหน้าทับมีหลายรูปแบบ มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป นักดนตรีต้องทราบว่าเพลงที่บรรเลงนั้นเป็นเพลงชนิดใด  บรรเลงด้วยวงประเภทใด  
เพื่อที่จะต้องเลือกจังหวะหน้าทับให้ถูกต้องกับบทเพลงนั้น ๆ
ทับเป็นเหมือนผู้กำกับอันสำคัญ เป็นหัวหน้าของบทเพลงอย่างหนึ่ง วิธีตีหรือเพลงของทับนี้
 จึงเรียกว่า "หน้าทับ" หน้าทับมีอยู่ ๓ ลักษณะ คือ หน้าทับปรบไก่ หน้าทับสองไม้ จังหวะหน้าทับพิเศษ
       

            

3 ความคิดเห็น: